วันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2559

มารยาทชาวพุทธ
สาระสำคัญ
   มารยาทชาวพุทธ  เป็นการแสดงออกที่มีแบบแผน  ในการประพฤติปฏิบัติ ซึ้งเป็นแนวปฎิบัติที่ทำให้สมาชิกในสังคม สามารถดำรงอยู่ร่วมกันได้อย่างดี โดยเฉพาะมารยาทชาวพุทธที่หล่อหลอมมาจาก หลักธรรมคำสอนทางพุทธศาสนา เป็นกริยาวาจาที่บุคคลในสังคมพึงปฎิบัติต่อกัน อันจะเป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคม จนนับเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมทางศาสนา  ที่มีลักษณะเฉพาะของชาวพุทธในประเทศไทย  แม้จะไม่สำคัญเท่าหลักธรรมคำสอนโดยตรง  แต่ก็มีส่วนในการสร้างความรัก  ความสามัคคี  อันเป็นเอกลักษณ์สำคัญของสังคมไทย  ที่คนไทยทุกคนควรประพฤติปฏิบัติและสืบทอดต่อไป อ่านเพิ่มเติม


หน้าที่ชาวพุทธ
หน้าที่หลักของชาวพุทธที่มีต่อพระศาสนา
ชาวพุทธมีหน้าที่หลักต่อการจรรโลงพระศาสนา 4 ประการ ดังนี้

1. การศึกษาในหลักธรรม ประเพณี และพิธีกรรมทางศาสนา

2. การปฏิบัติตามหลักธรรมคำสอน ประเพณี และพิธีกรรมทางศาสนา

3. การเผยแพร่พระศาสนา

4. การป้องกันรักษาพระศาสนา อ่านเพิ่มเติม


การบริหารจิต
              พระพุทธศาสนาเน้นเรื่องการฝึกจิตเป็นสำคัญ เพราะมนุษย์มีจิตเป็นตัวนำการ กระทำทุกอย่าง จะต้องมีการพิจารณา คิดนึกตรึกตรองเสียก่อน   การฝึกจิตหรือการบริหารจิต จึงเป็นการกระทำเพื่อให้จิตมีสภาพตั้งมั่น มีสติระลึกได้ มีสัมปชัญญะรู้สึกตัวทั่วพร้อมตลอดเวลา
              การบริหารจิต  หมายถึง  การฝึกฝนอบรมจิตให้เจริญและประณีตยิ่งขึ้น  มีความปลอดโปร่ง มีความหนักแน่นมั่นคง   โดยเริ่มจากการฝึกฝนจิตให้เกิดสติและฝึกสมาธิให้เกิดขึ้นในจิต อ่านเพิ่มเติม


พุทธศาสนสุภาษิต
ภาษิต แปลว่า  ถ้อยคำที่กล่าวไว้ดี (สุ=ดี,  ภาษิต=กล่าว) สามารถนำมาเป็นคติ   ยึดถือเป็นหลักใจได้
พุทธศาสนสุภาษิต  หมายถึง ถ้อยคำดีๆ ในพระพุทธศาสนา  แต่มิได้หมายความเฉพาะคำที่พระพุทธองค์ตรัสไว้เท่านั้น แม้สุภาษิตแทบทั้งหมดจะเป็นพระพุทธพจน์ก็ตาม อ่านเพิ่มเติม


พระไตรปิฏก
        พระไตรปิฏก แปลว่า ๓ คัมภีร์ เมื่อแยกเป็นคำๆ ว่า พระ + ไตร + ปิฏก คำว่า "พระ" เป็นคำแสดงความเคารพหรือยกย่อง คำว่า "ไตร" แปลว่า สาม คำว่า "ปิฏก" แปลได้ ๒ อย่าง คือ แปลว่า คัมภีร์ หรือแปลว่า กระจาด ตะกร้า ดังนั้น พระไตรปิฏก จึงหมายถึง สิ่งที่รวบรวมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าไว้เป็นหมวดหมู่ไม่ไห้กระจัดกระจาย คล้ายกระจาดหรือตะกร้าอันเป็นภาชนะใส่ของนั้นเอง อ่านเพิ่มเติม


เวสสันดรชาดก
       พระเจ้าสญชัย ทรงครองราชสมบัติเมืองสีพี มีพระมเหสีทรงพระนามว่า พระนางผุสดี ธิดาพระเจ้ากรุงมัททราช พระนางผุสดีนี้ในชาติก่อนๆ ได้เคยถวายแก่นจันทน์หอม เป็นพุทธบูชาและอธิษฐานขอให้ได้เป็นพุทธมารดาพระพุทธเจ้าในกาลอนาคต ครั้นเมื่อนางสิ้นชีวิตก็ได้ไปบังเกิดในเทวโลก เมื่อถึงวาระที่จะต้องจุติมาเกิดในโลกมนุษย์ พระอินทร์ได้ประทานพรสิบประการแก่นาง ครั้นเมื่อพระนางผุสดีทรงครรภ์ใกล้กำหนดประสูติ พระนางปรารถนาไปเที่ยวชมตลาด ร้านค้า อ่านเพิ่มเติม


อริยสัจ 4
        อริยสัจ 4 มีความจริงอยู่ 4 ประการคือ การมีอยู่ของทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ ความดับทุกข์ และ หนทางไปสู่ความดับทุกข์ ความจริงเหล่านี้เรียกว่า อริยสัจ 4
1. ทุกข์ คือ การมีอยู่ของทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ และตายล้วนเป็นทุกข์ ความเศร้าโศก ความโกรธ ความอิจฉาริษยา ความวิตกกังวล ความกลัวและความผิดหวังล้วนเป็น ทุกข์ การพลัดพรากจากของที่รักก็เป็นทุกข์ ความเกลียดก็เป็นทุกข์ ความอยาก ความยึดมั่นถือมั่น ความยึดติดในขันธ์ทั้ง 5 ล้วนเป็นทุกข์ อ่านเพิ่มเติม